ข.ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้

ไอคอนของ IDevice Preknowledge
ข. ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้ โดยตั้งตนอยู่ในธรรมของผู้แสดงธรรม ที่เรียกว่า ธรรมเทศกธรรม ๕ ประการ คือ
๑. อนุบุพพิกถา สอนให้มีขั้นตอนถูกลำดับ คือ แสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ
๒. ปริยายทัสสาวี จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล คือ ชี้แจง ยกเหตุผลมาแสดง ให้เข้าใจชัดเจนในแต่ละแง่แต่ละประเด็น อธิบายยักเยื้องไปต่างๆ ให้มองเห็นกระจ่างตามแนวเหตุผล
๓. อนุทยตา ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก้ผู้รับคำสอน
๔. อนามิสันดร ไม่มีจิตเพ่งเล็งเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่มิใช่มุ่งที่ตนจะได้ลาภ สินจ้าง หรือผลประโยชน์ตอบแทน
๕. อนุปหัจจ์* วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น
(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๕๙/๒๐๕)

ค. มีลีลาครูครบทั้งสี่ ครูที่สามารถมีลีลาของนักสอน ดังนี้
๑. สันทัสสนา ชี้ให้ชัด จะสอนอะไร ก็ชี้แจงแสดงเหตุผล แยกแยะอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา

วชิรวิชญ์ คณะสังคมศาสตร์ มจร วข พะเยา