ทบทวนบทเรียน

ぶんぽう
1. 「จุดหมายปลายทาง」 に + V .
คำกริยาที่ใช้กับคำช่วย : に เช่น 入る(เข้า)、のる(ขึ้นยานพาหนะ)、
つく(ถึง)、とまる(พัก) 「に」ในบทนี้ แสดงสถานที่ที่เป็นจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนที่
บอกให้รู้ว่าประธานเคลื่อนที่ไปหยุด อยู่ ณ ที่นั้นๆ เช่น
へやに入る、 バスにのる、 かいしゃにつく、 バスていにとまる
今きょうしつに入ってください。ขอให้เข้าห้องเดี๋ยวนี้ค่ะ
このまえのれんきゅうにチェンマイでぞうにのりました。
ฉันขี่ช้างที่เชียงใหม่เมื่อวันหยุดยาวที่ผ่านมาค่ะ
このひこうきは、何時ごろロンドンにつきますか。
เครื่องบินลำนี้จะถึงลอนดอนประมาณกี่โมงครับ
バスは大学のどこにとまりますか。
รถบัสจะจอดตรงไหนของมหาวิทยาลัยครับ
นอกจากกริยาที่ยกมาแล้ว ยังสามารถใช้「に」กับกริยา「行く、来る、かえる」ได้ด้วย
กล่าวคือ จุดหมายปลายทางของกริยา「行く、来る、かえる」สามารถใช้ได้ทั้งคำช่วย「へ」
(ซึ่งแสดงทิศทางว่าเคลื่อนที่มุ่งสู่ที่ใด) และคำช่วย「に」ซึ่งแสดงจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนที่
เช่น
ジョンさんは来月のはじめごろイギリスにかえります。
คุณจอห์นจะกลับอังกฤษราวๆต้นเดือนหน้าค่ะ
ひろみさんは今月のおわりにタイに来ます。
ฮิโรมิจะมาถึงเมืองไทยปลายเดือนนี้ค่ะ
2. 「จุดที่เคลื่อนที่ออกมา 」を+V
คำกริยาที่ใช้กับคำช่วย : を เช่น る(ออก)、おりる(ลง ยานพาหนะ)
を ในที่นี้ใช้วางไว้หลังจุดที่มีการเคลื่อนที่พ้นออกมา บอกว่าประธานมีการ
เคลื่อนที่ออกจากสถานที่นั้นๆ เช่น
何時ごろリーさんの家を出ましたか。
ออกจากบ้านลี ตอนราวๆกี่โมงค่ะ
くうこうの近くでタクシーをおりました。
ลงแท็กซี่ใกล้ๆสนามบินครับ
3. 「บริเวณที่เคลื่อนผ่าน」を+V
คำกริยาที่ใช้กับคำช่วย : を เช่น わたる(ข้าม)、あるく(เดิน)、
まがる(เลี้ยว)、行く(ไป)、さんぽする(เดินเล่น)、
とおる(ผ่าน)をในที่นี้ ใช้วางหลังสถานที่ที่เป็นบริเวณที่ประธานเคลื่อนที่ผ่าน เช่น
あのバスは、はしをわたりますか。
รถเมล์สายนั้นข้ามสะพานไหมค่ะ
このみちをまっすぐ行ってください。
ตรงไปตามถนนเส้นนี้ ( 行く ในที่นี้คือการเคลื่อนผ่าน)
今朝そふとそぼといっしょにこうえんをさんぽしました。
เดินเล่นในสวนสาธารณะกับคุณปู่คุณย่าเมื่อเช้านี้
62番のバスはびじゅつかんのまえをとおりますか。
รถเมล์สาย 62 ผ่านหน้าหอศิลป์หรือเปล่าครับ
4. V1 て、V2..
ใช้รูป 「て」
เชื่อมกริยาหลายตัวให้อยู่ในประโยคเดียวกัน
มีความหมายว่า "แล้วก็ และ"
六時におきて、夜十時ごろねます。
หนูตื่น 6 โมงและนอนประมาณ 5 ทุ่มค่ะ
サイアムでバスにのって、どうぶつえんのむかいがわでおりてください。
ขึ้นรถเมล์ที่สยาม แล้วลงตรงฝั่งตรงข้ามสวนสัตว์นะครับ
シャワーをあびて、朝ごはんを食べて学校に来ます。
ฉันอาบน้ำ กินข้าวเช้าแล้วก็มาโรงเรียน