ทบทวนบทเรียน

ไอคอนของ IDevice ทบทวนบทเรียน

วิดิทัศน์ ศัพท์การทำอาหาร

คลิกปุ่ม เพื่อดูวิดีทัศน์ศัพท์การทำอาหารญี่ปุ่น


ぶんぽう

1 
กริยารูป

เป็นกริยารูปอดีต มีวิธีผันแบบเดียวกับรูป て ดังนี้

Vグループ1 กริยากลุ่มที่ 1  

เปลี่ยนพยัญชนะตัวสุดท้ายของรูปพจนานุกรมดังนี้  

う、つ、る ⇒ っ + た เช่น 買う → 買った

待つ →   待った

作る →   作った

く ⇒ い + た เช่น 書く → 書いた

★ ยกเว้น: 行く →  行った

ぐ  ⇒ い + だ เช่น 泳ぐ →  泳いだ  

す  ⇒ し + た เช่น 話す →  話した   

ぬ、ぶ、む  ⇒ ん + だ เช่น しぬ → しんだ   

あそぶ →  あそんだ  

飲む →   飲んだ

Vグループ2 กริยากลุ่มที่ 2

ตัด 「る」ทิ้งแล้วเติม 「た」 ดังนี้

見る → 見た   

こたえる → こたえた

閉める  → 閉めた

Vグループ3 กริยากลุ่มที่ 3 

来る → 来た

する → した

2.  Vた ことが ある

เป็นสำนวนที่ใช้เล่าประสบการณ์ มีความหมายว่า "เคย..."

คำถาม :すきやきを食べたことがありますか。

เคยกินสุกียากี้(ของญี่ปุ่น)ไหมครับ

คำตอบ:はい、あります。เคยค่ะ

いいえ、ありません。ไม่เคยค่ะ

見たことはありますが、食べたことはありません。

เคยเห็นแต่ไม่เคยกินค่ะ

わたしはうまにのったことがありません。ผมไม่เคยขี่ม้าครับ

ゆきを見たことがありますか。เคยเห็นหิมะไหมครับ

 

3. 1ลักษณะนาม も + รูปปฏิเสธ

มีความหมายว่า "ไม่เลย แม้แต่ 1"

日本のすきやきは一回も食べたことがありません。

สุกียากี้ญี่ปุ่นไม่เคยกินเลยสักครั้งครับ

わたしたちのグループには男の人は一人もいません。

กลุ่มของพวกเราไม่มีผู้ชายเลยแม้แต่คนเดียวค่ะ

このへんには食べ物の店は一けんもありません。

แถวนี้ไม่มีร้านขายของกินเลยสักร้านหนึ่งค่ะ

 

4. V1 てから V2  

「てから」ใช้บอกลำดับของการกระทำ 2 อย่างที่มีความเกี่ยวข้องกันว่า

ทำV1แล้วค่อยทำ V2 เช่น

手を洗ってからごはんを食べてください。

ล้างมือเสียก่อนแล้วค่อยกินข้าวนะคะ

やさいを切ってから、肉を切ります。

จะหั่นผักก่อนแล้วค่อยหั่นเนื้อค่ะ

しゅくだいはよくふくしゅうしてからしましょう。

การบ้านน่ะ ทบทวนให้ดีเสียก่อนแล้วค่อยทำดีกว่านะครับ

5. はじめに、つぎに、それから、さいごに 

คำทั้ง 4 เป็นคำสันธาน ใช้บอกลำดับการเกิดก่อนหลังของกริยา

はじめに  แปลว่า อันดับแรก

つぎに    แปลว่า ต่อไป

それから  แปลว่า จากนั้น

さいごに  แปลว่า สุดท้าย

はじめにおゆをわかします。อันดับแรกต้มน้ำร้อนค่ะ

つぎにめんを入れます。ต่อไปใส่เส้นค่ะ

それからやさいとたまごを入れます。จากนั้นใส่เนื้อกับไข่ค่ะ

さいごにやさいを入れます。อันดับสุดท้ายใส่ผักค่ะ

6. V て みる

กริยา みる ใช้เป็นกริยาช่วยเพื่อเสริมความหมายของกริยาว่าเป็นการลองทำ เช่น

これを食べてみませんか。ลองกินนี่ดูไหมค่ะ

はいてみてください。ลองสวมดูสิค่ะ

したおすしを作ってみます。พรุ่งนี้จะลองทำซูชิดูค่ะ

このナイフで切ってみてください。ลองใช้มีดเล่มนี้หั่นดูซิค่ะ

今度リーさんにかんこく料理の作り方を聞いてみましょう。

เอาไว้คราวหน้า ลองถามลีเรืองวิธีทำอาหารเกาหลีดูกันดีกว่า

*ข้อควรระวัง ในสำนวนนี้ みる จะไม่เขียนด้วยคันจิ

7. 「สถานที่ที่ผลของการกระทำปรากฏอยู่」  に

คำช่วย 「に」ในบทนี้ใช้แสดงสถานที่ที่ผลจากการกระทำปรากฏอยู่

เช่นเขียนชื่อแล้วชื่อปรากฎอยู่ที่ใด จะใส่คำช่วย「に」ตามหลังคำนั้นๆ เช่น

このかみにおなまえを書いてください。กรุณาเขียนชื่อลงในกระดาษแผ่นนี้ค่ะ

なべにあぶらをすこし入れます。ใส่น้ำมันลงในหม้อนิดหน่อยค่ะ

はなをむねにつけてください。เอาดอกไม้ติดที่อกด้วยค่ะ

8. 味(あじ) / におい / 音(おと) が する

ใช้เมื่อผู้พูดสัมผัสถึงรสชาติ กลิ่น หรือเสียง หรือบอกสรรพคุณของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ว่ามีรส กลิ่น หรือเสียงอย่างไร เช่น

このおかしはどんな味(あじ)がしますか。ขนมนี้รสชาติเป็นอย่างไรค่ะ

ああ、マンゴーの味がしますね。อืือ มีรสมะม่วงนะคะ

赤ちゃんはミルクのにおいがします。เด็กทารกมีกลิ่นนมค่ะ

このギターはいい音がしますね。กีตาร์ตัวนี้เสียงดีนะครับ

へんな音がしましたね。มีเสียงแปลกๆ นะครับ