๒.๒ มีหลักประกันของชีวิตที่พัฒนา

ไอคอนของ IDevice Preknowledge
ข. มีหลักประกันของชีวิตที่พัฒนา

    เมื่อรู้หลักบุพภาคของการศึกษา ๒ อย่างแล้ว พึงนำมาปฏิบัติในชีวิตจริง พร้อมกับสร้างคุณสมบัติอื่นอีก ๕ ประการให้มีในตน รวมเป็นองค์ ๗ ที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม หรือ รุ่งอรุณของการศึกษา ที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบว่าเหมือนแสงอรุณที่เป็นบุพนิมิตแห่งอาทิตย์อุทัย เพราะเป็นคุณสมบัติต้นทุนที่เป็นหลักประกันว่า จะทำให้ก้าวหน้าไปในการศึกษา และชีวิตจะพัฒนาสู่ความดีงามและความสำเร็จที่สูงประเสริฐอย่างแน่นอน ดังต่อไปนี้

๑. แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี

๒. มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต

๓. มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์

๔. มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้

๕. ยึดถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆ ตามเหตุและผล

๖. ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

๗. ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง


Pro-vision | Professional | Public relation

Image1\ Image2\ Image3\
ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาว่า ภาควิชาบริหารการศึกษาและกิจการคณะสงฆ์ มีภารกิจในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก จึงมีแนวคิดในการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ เป็นกรอบแนวคิดหลัก และใช้แนวคิด “นวลักษณ์” ซึ่งเป็นคุณลักษณะของนิสิตที่มหาวิทยาลัยกำหนดเป็นหลักการสำคัญ และกำหนดเพิ่มเติมเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนานิสิตระดับต่างๆ ดังนี้

ระดับปริญญาตรี จะ ใช้ "นวลักษณ์" เป็นพื้นฐาน ใช้หลักปฏิสัมภิทา ๔ เป็นนโยบาย และ ใช้หลักภาวนา ๔ เป็นเครื่องมือ สรุปเป็นคุณลักษณ์ของนิสิตย่อๆ ว่า "มีนวลักษณ์ พร้อมด้วยทักษะ ๔ รู้วิธีการพัฒนา" สรุปเป็นภาพดังนี้

นิสิตของหลักสูตรที่ได้พัฒนาแล้วจะเป็นผู้มีคุณลักษณ์ตาม M-TEACHER Motto กล่าวคือ เป็นผู้มี นวลักษณ์ เป็นพื้นฐาน ถึงพร้อมด้วยทักษะ ๔ โดยมี สิกขา ๓ เป็นพื้นฐาน (ภาวนา ๔ รวมอยู่ในนี้) ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีคำอธิบายเกี่ยว M-TEACHER ดังนี้

M - MAHACHULA มีนวลักษณ์
----------------
T - Talent : รู้ทั่วศาสตร์หลากหลายไม่ข้องขัด (รู้อรรถ-Learn to Know)
E - Enlighten : รู้แจ้งศาสตร์ความเป็นครูผู้สอนศิษย์ (รู้ธรรม-Learn to Do)
A - Apply : รู้จักใช้ภาษาและเทคโนโลยีให้สัมฤทธิ์ (รู้นิรุตติ-Learn to Be)
C - Civilize : เสกสรรค์ศิษย์ให้มีอารยธรรม์ (มีปฏิภาณ-Learn to be Together)
H - Honour : มีเกียรติศักดิ์รักษ์จรรยาวิชาชีพ (ศีล)
E - Ethics : หมั่นเร่งรีบละอธรรมสิ่งหวั่นไหว (จิตใจ)
R - Research : มุ่งเรียนรู้พัฒนาตนอยู่ร่ำไป (ปัญญา)
ทั่วถิ่นไทยได้รับรู้ “ครูมหาจุฬา”

จากคำอธิบาย สรุปลักษณะ “ครูของมหาจุฬา” เป็น ผู้มีนวลักษณ์ พร้อมด้วยทักษะ ๔ มีสิกขา ๓ ดังภาพนี้

ระดับมหาบัณฑิต ทางภาควิชากำหนดแนวทางพัฒนานิสิตตามหลักนักบริหาร ที่มาจาก ทุติยปาปณิกสูตร ที่ประกอบด้วย จักขุมา วิธุโร นิสสยสัมปันโน โดยระดับนี้กำหนดหลักการว่า รู้หลักบริหาร ชำนาญปฏิบัติ ไม่ขาดมนุษยสัมพันธ์ โดยใช้หลัก สัทธรรม ๓ เป็นเครื่องมือสำคัญ หรือสรุปเป็นภาษาอังกฤษ 3H ดังนี้
- รู้หลักบริหาร (จักขุมา-Conceptual skill : Head) รู้หลักการ /ทฤษฎีชัดเจนรวมถึงศึกษาดูงาน/เสริมสร้างวิสัยทัศน์

- ชำนาญปฏิบัติ (วิธุโร-Technical skill : Hand) ปฏิบัติถูก/ทำได้อย่างชำนาญมีการพัฒนาและวิจัยต่อเนื่อง
- ไม่ขาดมนุษย์สัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน : Human relation Skill) ไม่ขาดปัจจัยบริหาร/บริหารให้ได้ผล รวมถึงมีจิตบริการ/เสียสละให้กับสังคม สรุปเป็นภาพได้ดังนี้

ระดับดุษฎีบัณฑิต ใช้กรอบแนวคิดตามหลักการเดิมจากระดับมหาบัณฑิต แต่ได้พัฒนาให้เป็นระดับสูงขึ้นไป (อธิ) โดยกำหนดหลักการว่า "มีวิสัยทัศน์ เชี่ยวชาญปฏิบัติ ฉลาดมนุษย์สัมพันธ์" โดยใช้หลัก อริยสัจ ๔ เป็นเครื่องมือสำคัญ ภาษาอังกฤษกำหนด 3P มีคำอธิบาย ดังนี้
- มีวิสัยทัศน์ (อธิจักขุมา : Pro vision) รอบรู้ทฤษฎี / สร้างทฤษฎีใหม่

- เชี่ยวชาญปฏิบัติ (อธิวิธุโร : Professional) ปฏิบัติได้อย่างเชี่ยวชาญ /สร้างและพัฒนาสิ่งใหม่ๆ
- ฉลาดมนุษย์สัมพันธ์ (อธินิสสยสัมปันโน:Public Relation) บริหารมีประสิทธิภาพ /สร้างปัจจัยบริหารได้ /ไม่ทอดทิ้งสังคม

  • ข่าว
  • ประชุม
  • ธุรการ
  • ข้อมูลสถิติ
ประมวลความรู้ ป.เอก พุทธบริหารการศึกษา รุ่นที่ ๑ นอกสถานที่ครั้งที่ ๑

 

วันที่ ๑๓ ก.ย.๕๕ หลักสูตร ป.เอก สาขาพุทธบริหารการศึกษา จัดการประมวลความรู้ ๒ รายวิชา นอกสถานที่ ครั้งที่ ๑ ณ วัดด่านสำโรง สมุทรปราการ โดยพระครูวิมลศุภาการ เจ้าอาวาส และประธานนิสิต รุ่นที่ ๑ เป็นแม่งาน

การสัมมนาครั้งนี้ เป็นความดำริของหลักสูตร พธ.ด. (พุทธบริหารการศึกษา) ที่จะปฏิบัติตามปรัชญาหลักสูตร คือ มีวิสัยทัศน์ (จักขุมา) เชี่ยวชาญปฏิบัติ (วิธุโร) ฉลาดมนุษยสัมพันธ์ (นิสสยสัมปันโน) โดยเฉพาะการสัมมนานอกสถานที่ตามวัด หรือโซนต่างๆ เป็นการสร้างสัมพันธภาพระหว่างหมู่นิสิต ชุมชน และเครือข่ายการศึกษาต่างๆ ร่วมกัน ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาข้อที่ ๓ นั่นเอง

ในการนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งจาก ผอ.หลักสูตร ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ คณาจารย์ผู้ดูแลหลักสูตร ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ ผศ.ดร.สิน งามประโคน วิทยากรทรงคุณวุฒิ รศ.ดร.ชาติชาย พิทักธนาคม ดร.อติเทพ ผาทา ผู้เจ้าภาพสถานที่และอาหาร พระครูวิมลศุภการ และคณะในเขตสมุทรปราการ เลขานุการของห้อง พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ

ครั้งที่ ๒ จะจัดในวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๕ ณ วัดพระยาสุเรนทร์ เขตมินบุรี อย่าลืมอย่าพลาดครับ


ดูกิจกรรมเพิ่มเติมที่นี่

อบรมเทคนิคการทำวิทยานิพนธ์ ป.โท มจร.ขอนแก่น

 

เมื่อวันที่ ๘ ก.ย.๕๕ คณาจารย์จากภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มจร. ประกอบด้วย ผศ.ดร.สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย ผศ.ดร.สิน งามประโคน อ.เกษม แสงนนท์ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรมเทคนิคการทำวิทยานิพนธ์แก่นิสิต ป.โท สาขาการบริหารการศึกษา มจร. วิทยาเขตขอนแก่น มีนิสิตร่วมโครงการกว่า ๕๐ รูป/คน
ได้รับการต้อนรับจาก ดร.วิทยา ทองดี ผช.อธิการบดี ดร.ประยูร แสงใส ผู้ดุแลหลักสูตร อ.ชยันต์ บุญพิโย และได้รับความเมตตาจาก พระครูสุวิธานพัฒนบัณฑิต รองอธิการบดีวิทยาเขตขอนแก่นเป็นประธานเปิดอบรม รศ.ดร.เอกฉัท จิรเมธีชน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิร่วมการสัมมนา
ผลการอบรมสัมมนาครั้งนี้ เป็นไปอย่างอบอุ่นคึกคักตลอดงาน ทำให้นิสิตได้รับความมั่นใจในการดำเนินการทำวิทยานิพนธ์ได้อย่างดี โดยทางหลักสูตรมีเป้าหมายว่าจะต้องมีผู้สำเร็จการศึกษา ไม่น้อยกว่า ร้อยละ ๗๐

ดูภาพเพิ่มเติมที่นี่

ครุศาสตร์จัดโครงการรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทยอลังการ

 

เมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๕ คณะครุศาสตร์ โดยภาควิชาหลักสูตรและการสอนจัดโครงการรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย มีกิจกรรมการตอนเช้า เป็นการแสดงศิลปวัฒนธรรมของนักเรียนโรงเรียนใกล้เคียงและนิสิตคฤหัสถ์ ระดับปริญญาตรี ซึ่งการแสดงดังกล่าวถือเป็นมิติใหม่นิสิตคฤหัสถ์ส่วนกลางที่โชว์ฝีมือได้อย่างหลากหลายและค่อนข้างดี ตอนบ่ายมีการเทศมหาชาติเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษามหาราชินี สรุปกิจกรรมออกมาอย่างพร้อมเพรียงและประทับใจ ต้องส่งเสริมให้ยิ่งๆ ขึ้นไป

 

ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม

นิสิต ป.เอก พุทธบริหารการศึกษา แบบ ๒.๑ ประมวลความรู้คักคัก

 

เมื่อวันที่ ๑ และ ๒ กันยายน ๒๕๕๕ หลักสูตร พธ.ด. สาขาพุทธบริหารการศึกษา กำหนดให้มีการประมวลความรู้หลักสูตร ป.เอก สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา แบบ ๒.๑ วิชา ศาสตร์แห่งความรู้ และวิชา แนวคิดและทฤษฎีทางการศึกษาในพระไตรปิฎกเชิงบูรณาการ ณ ห้องเรียนวัดศรีสุดาราม โดยมี พระครูปลัดมารุต วรมงฺคโล ผศ.ดร. คณบดีคณะครุศาสตร์ ดร.อติเทพ ผาทา และ ดร.แสวง นิลนามะ เป็นผู้วิจารณ์ ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ผศ.ดร.สิน งามประโคน และ ผศ.ดร.อินถา ศิริวรรณ เป็นผู้ประสานงาน บรรยากาศเป็นไปอย่างอบอุ่น และได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับระดับดุษฎีบัณฑิตอย่างยิ่ง

ดูภาพกิจกรรม ชุดที่ ๑

ดูภาพกิจกรรม ชุดที่ ๒

งานสัมมนา "ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น" ประจำปี ๒๕๕๕

 

 

งานสัมมนา "ผลงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ดีเด่น" ประจำปี ๒๕๕๕ จัดโดยบัณฑิตวิทยาลัย มจร. เมื่อวันที่ ๒๖ ส.ค.๕๕๕ ณ หอประชุม มวก ๔๘ พรรษา ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วังน้อย อยุธยา

การจัดงานเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่และอบอุ่น ผู้ร่วมงานเป็นจำนวนมาก นับว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

สิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมคือข้อแนะนำจากผู้วิจารณ์ ท่านเจ้าคุณ พระเมธาวินัยรส, ดร. กล่าวว่าเกณฑ์การพิจารณาวิทยานิพนธ์ สรุปได้ ดังนี้

๑. ริเริ่มสร้างสรร

๒. มีกรอบการวิจัยและดำเนินการตามระเบียบวิธีที่ถูกต้อง

๓. เนื้อหามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ

๔. การนำเสนอเป็นลำดับขั้นตอนชัดเจน

๕. เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการที่เกี่ยวข้อง

๖. มีคุณค่า เป็นประโยชน์

๗. ผลวิจัยมีผลกระทบต่อสังคมในทางที่ดี

ด้าน ดร.นพ.ไกรมาศ จึงเสถียรทรัพย์ สรุปว่า เกณฑ์ดังกล่าว ขอสรุปเป็น ๓ ข้อ ซึ่งย่อเป็น OCI ดังนี้

O - Original เป็นสิ่งที่เป็นต้นฉบับ จะเป็นบทสรุป หรือผลวิจัยที่ออกมาใหม่ เป็นต้นฉบับของผู้วิจัยเอง

C - Creative สร้างสรร มีประโยชน์

I - Impact มีผลกระทบต่อสังคมในเชิงสร้างสรร ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี

ส่วนการนำเสนอผลงานวิจัยที่ห้องประชุมใหญ่ มีนิสิตระดับ ป.โท สาขาการบริหารการศึกษา นำเสนอได้ตรงกับเกณฑ์ของคณะกรรมการมาที่สุด คือ นำเสนอไปตามลำดับ กระชับ มีสื่อที่ชัดเจน เพราะได้มีการอบรมการนำเสนอผลงานวิจัยจากทางหลักสูตรที่ได้จัดอบรม "คลีนิกวิทยานิพนธ์" มาด้วย

ดูภาพประกอบที่นี่

 

สัมมนาเรื่อง "การเมืองการปกครองบูรณาการกับการศึกษา" โดย ๒ อดีต รมต.ศึกษาธิการ

 

สัมมนาเรื่อง "การเมืองการปกครองบูรณาการกับการศึกษา" โดย ๒ อดีต รมต.ศึกษาธิการ นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ รศ.(พิเศษ) ดร.อดิศร เพียงเกษ จัดโดย หลักสูตร พธ.ด. สาขาพุทธบริหารการศึกษา มีนิสิต ป.เอก รุ่นที่ ๑ รุ่นที่ ๒ และ ป.โท เข้าร่วมสัมมนา ณ ห้องประชุม ๔๐๒ สำนักงานอธิการบดี มจร.วังน้อย

ดูรายละเอียดและภาพประกอบ

ผอ.หลักสูตร พธ.ด.(พุทธบริหารการศึกษา) มอบชุดฝึกซ้อมกีฬาให้นิสิตคฤหัสถ์

 

ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ผอ.หลักสูตร พธ.ด.(พุทธบริหารการศึกษา) มอบชุดฝึกซ้อมกีฬาให้นิสิตคฤหัสถ์

ผศ.ดร.สมศักดิ์ บุญปู่ ผอ.หลักสูตร พธ.ด.(พุทธบริหารการศึกษา) มอบชุดฝึกซ้อมกีฬาให้นิสิตคฤหัสถ์

อ่านเพิ่มเติม...
ป.เอก พุทธบริหารการศึกษา รุ่นที่ ๒ เริ่มเปิดแล้ว

 

เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๕ ได้มีพิธีไหว้ครูและปฐมนิเทศนิสิตใหม่

 

อ่านเพิ่มเติม...
ประชุมทั่วไป
ข่าวอบรมการใช้งานเว็บไชต์ www.edmcu.net

 

ข่าวอบรมการใช้งานเว็บไชต์ www.edmcu.net

 

อ่านเพิ่มเติม...
รายงานการประชุม

 

ข้อมูวทดสอบ

บันทึกนัดประชุุม

 

ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1

ทดสอบงานธุรการ

 

ทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการ

ทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการทดสอบงานธุรการ

บันทึกข้อความ

 

ข้อมูวทดสอบ

สารขากธุรการ

 

ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1ทดสอบธุรการ – ประชุม – ข้อมูลสถิติ1

สถิติต่างๆของส่วนงาน

 

สถิติต่างๆของส่วนงาน

 

ดาวนโหลดสถิติ

สถิติเข้าสัมนา

 

ข้อมูวทดสอบ

e-Book

เมนูหลัก

จำนวนผู้เข้าชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counter วันนี้ 149
mod_vvisit_counter เมื่อวาน 146
mod_vvisit_counter สัปดาห์นี้ 1088
mod_vvisit_counter สัปดาห์ที่แล้ว 1046
mod_vvisit_counter เดือนนี้ 3087
mod_vvisit_counter เดือนที่แล้ว 3669
mod_vvisit_counter ทุกวัน 6888
เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

เข้าสู่ระบบ

" class="fb_share_button" onclick="return fbs_click()" target="_blank" style="text-decoration:none;">Share on facebook

ปฎิทินกิจกรรม

กันยายน 2012
อา. จ. อ. พ. พฤ. ศ. ส.
26 27 28 29 30 31 1
2 3 4 5 6 7 8
9 10 11 12 13 14 15
16 17 18 19 20 21 22
23 24 25 26 27 28 29
30 1 2 3 4 5 6
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา
ป้ายโฆษณา

This article is licensed under the GNU Free Documentation License. It uses material from the บทความ"".

เกษม แสงนนท์ : คุณธรรมสำหรับครูและนักเรียน