บทที่ 1 คุณธรรมสำหรับครู

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge
คุณบทที่ ๑

หลักธรรมของผู้สั่งสอนหรือให้การศึกษา
(ครู อาจารย์ หรือผู้แสดงธรรม)

    ผู้ทำหน้าที่สั่งสอน ให้การศึกษาแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะครู อาจารย์ พึงประกอบด้วยคุณสมบัติ และประพฤติตามหลักปฏิบัติ ดังนี้
        ก. เป็นกัลยาณมิตร
        ข. ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้
        ค. มีลีลาครูครบทั้งสี่
        ง. มีหลักตรวจสอบสาม
        จ. ทำหน้าที่ครูต่อศิษย์

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

บทที่ ๒

หลักธรรมของผู้เล่าเรียนศึกษา

(นักเรียน นักศึกษา นักค้นคว้า)

หลักธรรมของผู้เล่าเรียนศึกษา

คนที่เล่าเรียนศึกษา จะเป็นนักเรียน นักศึกษา หรือนักค้นคว้าก็ตาม นอกจากจะพึงปฏิบัติตามหลักธรรมสำหรับคนที่จะประสบความสำเร็จ คือ จักร * และอิทธิบาท ๔* แล้ว ยังมีหลักการที่ควรรู้ และหลักปฏิบัติที่ควรประพฤติอีก ดังต่อไปนี้

ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา

ข. มีหลักประกันของชีวิตที่พัฒนา

ค. ทำตามหลักเสริมสร้างปัญญา

ง. ศึกษาให้เป็นพหูสูต

จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา

ก. รู้หลักบุพภาคของการศึกษา

 คือ รู้จักองค์ประกอบที่เป็น ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ ประการ ดังนี้

            ๑. องค์ประกอบภายนอกที่ดี ได้แก่ มีกัลยาณมิตร หมายถึง รู้จักหาผู้แนะนำสั่งสอน ที่ปรึกษา เพื่อน หนังสือ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทางสังคมโดยทั่วไปที่ดี ที่เกื้อกูล ซึ่งจะชักจูง หรือกระตุ้นให้เกิดปัญญาได้ด้วยการฟัง การสนทนา ปรึกษา ซักถาม การอ่าน การค้นคว้า ตลอดจนการรู้จักเลือกใช้สื่อมวลชนให้เป็นประโยชน์

            ๒. องค์ประกอยภายในที่ดี ได้แก่ โยนิโสมนสิการ หมายถึง การใช้ความคิดถูกวิธี รู้จักคิด หรือคิดเป็น คือ มองสิ่งทั้งหลายด้วยความคิดพิจารณา สืบสาวหาเหตุผล แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออกให้เห็นตามสภาวะและตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย จนเข้าถึงความจริง และแก้ปัญหาหรือทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นได้

            กล่าวโดยย่อว่า

            ข้อหนึ่ง รู้จักพึ่งพาให้ได้ประโยชน์จากคนและสิ่งที่แวดล้อม

            ข้อสอง รู้จักพึ่งตนเอง และทำตัวให้เป็นที่พึ่งของผู้อื่น

(ม.มู. ๑๒/๔๙๗/๕๓๙)

ข. มีหลักประกันของชีวิตที่พัฒนา

 เมื่อรู้หลักบุพภาคของการศึกษา ๒ อย่างแล้ว พึงนำมาปฏิบัติในชีวิตจริง พร้อมกับสร้างคุณสมบัติอื่นอีก ๕ ประการให้มีในตน รวมเป็นองค์ ๗ ที่เรียกว่า แสงเงินแสงทองของชีวิตที่ดีงาม หรือ รุ่งอรุณของการศึกษา ที่พระพุทธเจ้าทรงเปรียบว่าเหมือนแสงอรุณที่เป็นบุพนิมิตแห่งอาทิตย์อุทัย เพราะเป็นคุณสมบัติต้นทุนที่เป็นหลักประกันว่า จะทำให้ก้าวหน้าไปในการศึกษา และชีวิตจะพัฒนาสู่ความดีงามและความสำเร็จที่สูงประเสริฐอย่างแน่นอน ดังต่อไปนี้

            ๑. แสวงแหล่งปัญญาและแบบอย่างที่ดี

            ๒. มีวินัยเป็นฐานของการพัฒนาชีวิต

            ๓. มีจิตใจใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์

            ๔. มุ่งมั่นฝึกตนจนเต็มสุดภาวะที่ความเป็นคนจะให้ถึงได้

            ๕. ยึดถือหลักเหตุปัจจัยมองอะไรๆ ตามเหตุและผล

            ๖. ตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท

            ๗. ฉลาดคิดแยบคายให้ได้ประโยชน์และความจริง

ค. ทำตามหลักเสริมสร้างปัญญา

ในทางปฏิบัติ อาจสร้างปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างข้างต้นนั้นได้ ด้วยการปฏิบัติตามหลัก วุฒิธรรม* (หลักการสร้างความเจริญงอกงามแห่งปัญญา) ๔ ประการ

            ๑. สัปปุริสสังเสวะ เสวนาผู้รู้ คือ รู้จักเลือกหาแหล่งวิชา คบหาท่านผู้รู้ ผู้ทรงคุณความดี มีภูมิธรรมภูมิปัญญาน่านับถือ

            ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังดูคำสอน คือ เอาใจใส่สดับตรับฟังคำบรรยาย คำแนะนำสั่งสอน แสวงหาความรู้ ทั้งจากตัวบุคคลโดยตรง และจากหนังสือหรือสื่อมวลชน ตั้งใจเล่าเรียน ค้นคว้า หมั่นปรึกษาสอบถาม ให้เข้าถึงความรู้ที่จริงแท้

            ๓. โยนิโสมนสิการ คิดให้แยบคาย คือ รู้ เห็น ได้อ่าน ได้ฟังสิ่งใด ก็รู้จักคิดพิจารณาด้วยตนเอง โดยแยกแยะให้เห็นสภาวะและสืบสาวให้เห็นเหตุผลว่านั่นคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น จะเกิดผลอะไรต่อไป มีข้อดี ข้อเสีย คุณโทษอย่างไร เป็นต้น

            ๔. ธรรมานุธรรมปฏิบัติ ปฏิบัติให้ถูกหลัก นำสิ่งที่ได้เล่าเรียนรับฟังและตริตรองเห็นชัดแล้ว ไปใช้หรือปฏิบัติหรือลงมือทำ ให้ถูกต้องตามหลักตามความมุ่งหมาย ให้หลักย่อยสอดคล้องกับหลักใหญ่ ข้อปฏิบัติย่อยสอดคล้องกับจุดหมายใหญ่ ปฏิบัติธรรมอย่างรู้เป้าหมาย เช่น สันโดษเพื่อเกื้อหนุนการงาน ไม่ใช่สันโดษกลายเป็นเกียจคร้าน เป็นต้น

(องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๒๔๘/๓๓๒)

ง. ศึกษาให้เป็นพหูสูต

 คือ จะศึกษาเล่าเรียนอะไร ก็ทำตนให้เป็นพหูสูตในด้านนั้น ด้วยการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แจ่มแจ้งชัดเจนถึงขั้นครบ องค์คุณของพหูสูต (ผู้ได้เรียนมาก หรือผู้คงแก่เรียน) ๕ ประการ คือ

            ๑. พหุสฺสุตา ฟังมาก คือ เล่าเรียน สดับฟัง รู้เห็น อ่าน สั่งสมความรู้ในด้านนั้นไว้ให้มากมายกว้างขวาง

            ๒. ธตา จำได้ คือ จับหลักหรือสาระได้ ทรงจำเรื่องราวหรือเนื้อหาสาระไว้ได้แม่นยำ

            ๓. วจสา ปริจิตา คล่องปาก คือ ท่องบ่น หรือใช้พูดอยู่เสมอ จนแคล่วคล่องจัดเจน ใครสอบถามก็พูดชี้แจงแถลงได้

            ๔. มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ คือ ใส่ใจนึกคิดจนเจนใจ นึกถึงครั้งใด ก็ปรากฏเนื้อความสว่างชัดเจน มองเห็นโล่งตลอดไปทั้งเรื่อง

            ๕. ทิฏฺฐิยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี คือ เข้าใจความหมายและเหตุผลแจ่มแจ้งลึกซึ้ง รู้ที่ไปที่มา เหตุผล และความสัมพันธ์ของเนื้อความและรายละเอียดต่างๆ ทั้งภายในเรื่องนั้นเอง และที่เกี่ยวโยงกับเรื่องอื่นๆ ในสายวิชาหรือทฤษฎีนั้นปรุโปร่งตลอดสาย

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๘๗/๑๒๙)

จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา

ในด้านความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ พึงแสดงคารวะนับถือ ตามหลักปฏิบัติในเรื่องทิศ ๖ ข้อว่าด้วย ทิศเบื้องขวา* ดังนี้

            ๑. ลุกต้อนรับ แสดงความเคารพ

            ๒. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ เป็นต้น

            ๓. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา

            ๔. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ

            ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

(ที.ปา. ๑๑/๒๐๐/๒๐๓)