จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา

ไอคอนของ IDevice Preknowledge

จ. เคารพผู้จุดประทีปปัญญา

ในด้านความสัมพันธ์กับครูอาจารย์ พึงแสดงคารวะนับถือ ตามหลักปฏิบัติในเรื่องทิศ ๖ ข้อว่าด้วย ทิศเบื้องขวา* ดังนี้

            ๑. ลุกต้อนรับ แสดงความเคารพ

            ๒. เข้าไปหา เพื่อบำรุง รับใช้ ปรึกษา ซักถาม รับคำแนะนำ เป็นต้น

            ๓. ฟังด้วยดี ฟังเป็น รู้จักฟังให้เกิดปัญญา

            ๔. ปรนนิบัติ ช่วยบริการ

            ๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ

(ที.ปา. ๑๑/๒๐๐/๒๐๓)

อยู่เสมอ เป็นที่น่ายกย่องควรเอาอย่าง ทำให้ศิษย์เอ่ยอ้างและรำลึกถึงด้วยความซาบซึ้ง มั่นใจ และภาคภูมิใจ

                ๔. วตฺตา รู้จักพูดให้ได้ผล คือ รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไร อย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี

                ๕. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามแม้จุกจิก ตลอดจนคำล่วงเกินและคำตักเตือนวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ อดทน ฟังได้ ไม่เบื่อหน่าย ไม่เสียอารมณ์*

                ๖.คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ คือ กล่าวชี้แจงเรื่องต่างๆ ที่ยุ่งยากลึกซึ้งให้เข้าใจได้ และสอนศิษย์ให้ได้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

                ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่ชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย หรือเรื่องเหลวไหลไม่สมควร

(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๓๔/๓๓)

 

ข. ตั้งใจประสิทธิ์ความรู้ โดยตั้งตนอยู่ในธรรมของผู้แสดงธรรม ที่เรียกว่า ธรรมเทศกธรรม ๕ ประการ คือ

                ๑. อนุบุพพิกถา สอนให้มีขั้นตอนถูกลำดับ คือ แสดงหลักธรรม หรือเนื้อหาตามลำดับความง่ายยากลุ่มลึก มีเหตุผลสัมพันธ์ต่อเนื่องกันไปโดยลำดับ

                ๒. ปริยายทัสสาวี จับจุดสำคัญมาขยายให้เข้าใจเหตุผล คือ ชี้แจง ยกเหตุผลมาแสดง ให้เข้าใจชัดเจนในแต่ละแง่แต่ละประเด็น อธิบายยักเยื้องไปต่างๆ ให้มองเห็นกระจ่างตามแนวเหตุผล

                ๓. อนุทยตา ตั้งจิตเมตตาสอนด้วยความปรารถนาดี คือ สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก้ผู้รับคำสอน

                ๔. อนามิสันดร ไม่มีจิตเพ่งเล็งเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่มิใช่มุ่งที่ตนจะได้ลาภ สินจ้าง หรือผลประโยชน์ตอบแทน

                ๕. อนุปหัจจ์* วางจิตตรงไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น

(องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๑๕๙/๒๐๕)

 

ค. มีลีลาครูครบทั้งสี่ ครูที่สามารถมีลีลาของนักสอน ดังนี้

                ๑. สันทัสสนา ชี้ให้ชัด จะสอนอะไร ก็ชี้แจงแสดงเหตุผล แยกแยะอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา

                ๒. สมาทปนา ชวนให้ปฏิบัติ คือ สิ่งใดควรทำ ก็บรรยายให้มองเห็นความสำคัญ และซาบซึ้งในคุณค่า เห็นสมจริง จนผู้ฟังยอมรับ อยากลงมือทำ หรือนำไปปฏิบัติ

                ๓. สมุตเตชนา เร้าให้กล้า คือ ปลุกใจให้คึกคัก เกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจจะทำให้สำเร็จ ไม่กลัวเหน็ดเหนื่อยหรือยากลำบาก

                ๔. สัมปหังสนา ปลุกให้ร่าเริง คือ ทำบรรยากาศให้สนุกสดชื่น แจ่มใส เบิกบานใจ ให้ผู้ฟังแช่มชื่น มีความหวัง มองเห็นผลดีและทางสำเร็จ

                จำง่ายๆ ว่า สอนให้ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง

(เช่น ที.สี. ๙/๑๙๘/๑๖๑)